วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

เราหันมาใช้กระดาษรีไซเคิลกันเถอะ

เราหันมาใช้กระดาษรีไซเคิลกันเถอะ

ปริมาณความต้องการบริโภคเยื่อกระดาษภายในประเทศและตลาดต่างประเทศขยายตัวสูงขึ้น ในช่วงปี 2547 ต่อเนื่องไป แต่อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษกลับต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและมีราคาสูงโดยเฉพาะไม้ยูคาลิปตัสซึ่งถือเป็นวัตถุดิบที่มีการใช้ผลิตเยื่อกระดาษมากที่สุดเมื่อเทียบกับวัตถุดิบผลิตเยื่อกระดาษประเภทอื่นๆ อาทิ ปอแก้ว ชานอ้อย ไผ่ ซึ่งในอนาคตปัญหาการขาดแคลนไม้ยูคาลิปตัสในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการขยายตัวในธุรกิจสิ่งพิมพ์ การขยายการศึกษาภาคบังคับ และการเพิ่มขึ้นของการบริโภคส่วนบุคคล ส่งผลให้ความต้องการใช้กระดาษเพิ่มขึ้น ทำให้มีการผลิตกระดาษเพิ่มมากขึ้นตาม คนไทยใช้กระดาษเฉลี่ย 34 กก./คน/ปี การบริโภคกระดาษเพิ่มขึ้น เช่น กระดาษจากสำนักงาน กระดาษคอมพิวเตอร์ กระดาษอัดสำเนา ซองจดหมาย กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น กระดาษเหล่านี้ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก

ปริมาณขยะกระดาษที่ใช้แล้วในประเทศสามารถผลิตเยื่อเป็นกระดาษใหม่ได้ประมาณ 70,149 กก./ปี แต่มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 30 ที่ได้มีการนำกลับมาทำเป็นเยื่อใหม่และทำผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง

ต้นทุนวัตถุดิบเยื่อกระดาษ พลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มสูงขึ้น และวัตถุดิบเยื่อกระดาษเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อมลภาวะ และการทำลายป่า ในการผลิตกระดาษจากเยื่อบริสุทธิ์ 1 ตัน ต้องใช้ไม้ยูคาลิปตัสอายุ 5 ปี จำนวน 17 ต้น ใช้กระแสไฟฟ้า 4,100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้น้ำ 31,500 ลิตรและปล่อยคลอรีนเป็นของเสียสู่สิ่งแวดล้อมประมาณ 7 กิโลกรัม

แต่ถ้าใช้เศษกระดาษรรีไซเคิล ก็จะลดขั้นตอนและพลังงานในการผลิตลง โดยการผลิตกระดาษ 1 ตัน จากเศษกระดาษ จะลดการตัดต้นไม้ 17 ต้น ลดการใช้กระแสไฟฟ้า 1,000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ลดการใช้น้ำมันเตา 300 ลิตร ลดการใช้น้ำ 20 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังลดการใช้สารคลอรีนฟอกเยื่อกระดาษ 5 กิโลกรัม ลดการนำเข้ากระดาษจากต่างประเทศ 25,000 บาท ลดขยะกระดาษ 1 ตัน ลดค่ากำจัดขยะ 1,000 บาท และเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในการนำกระดาษมารีไซเคิล 12,000 บาท

ดังนั้นการใช้เยื่อกระดาษให้คุ้มค่า โดยการนำเศษกระดาษมารีไซเคิลใหม่ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษกระดาษที่ใช้แล้ว วิธีการคือนำเยื่อกระดาษที่ใช้แล้วมาผสมเยื่อใยยาว เช่น เยื่อสา เยื่อสับปะรด เยื่อกล้วย เป็นต้น เพื่อนำไปผลิตกระดาษด้วยมือ และทำเป็นผลิตภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ในการลดต้นทุนการผลิต รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับประเทศได้



ภาพกระดาษที่ยังไม่ได้แยกหมึก



ภาพกระดาษที่ผ่านการแยกหมึกและทำแผ่นกระดาษแบบพื้นบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น