วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ถ้าต้องการทำเองลองศึกษาได้

โครงงานทำกระดาษรีไซเคิล on PhotoPeach

สุดยอดนวัตกรรมประจำออฟฟิศ! เครื่องรีไซเคิลขยะกระดาษให้เป็น “ทิชชู”.



บริษัท โอเรียนทัล จำกัด ประเทศญี่ปุ่นปฏิวัติวงการรีไซเคิลด้วยการเปิดตัว “White Goat” สุดยอดเครื่องรีไซเคิลประจำสำนักงาน ที่จะเปลี่ยน “ขยะกระดาษ” ภายในออฟฟิศให้กลายเป็น “กระดาษชำระ” แบบม้วนได้ทันใจในเวลาเพียง 30 นาที

เคยมั๊ย? เวลาที่ใช้สมองเค้นไอเดียหรือร่างแผนงานต่างๆ แทบตาย แต่สุดท้ายเจ้านาย (หรือลูกค้า) กลับไม่ปลื้ม ทำให้เกิดอาการเซ็งสุดๆ จนแทบอยากเอาผลงานมาทำเป็นกระดาษเช็ดก้นให้หายแค้น…

อีกไม่นาน เอกสารที่ไม่เป็นที่ต้องการ ภายในออฟฟิศ จะถูกคนญี่ปุ่นนำมาทำเป็นกระดาษชำระ โดยผ่านทางเครื่องรีไซเคิลกระดาษที่มีชื่อว่า “White Goat” ของบริษัท โอเรียนทัล ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ “Monozukuri Nippon” มาแล้ว

อันที่จริงเครื่องรี ไซเคิลกระดาษ “White Goat” ดังที่เห็นในภาพ ถูกนำไปจัดแสดงภายในงาน “Eco Products 2009″ ที่กรุงโตเกียวเมื่อ 6 สัปดาห์ก่อน แต่เพิ่งมีกระแสฮอตฮิตในหมู่นักท่องอินเตอร์เน็ตหลังคลิปข่าวของเจ้าเครื่อง “White Goat” ถูกนำมาโพสต์ลงใน Diginfo.tv (เว็บไซต์ของญี่ปุ่นที่นำเสนอคลิปข่าวภาคภาษาอังกฤษ) และ YouTube เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

“White Goat” คือ เครื่อง รีไซเคิลกระดาษ ที่จะเปลี่ยนขยะประเภทกระดาษภายในสำนักงาน ให้กลายเป็นกระดาษชำระภายในเวลาเพียง 30 นาที โดยกระดาษชำระ 1 ม้วนจะใช้กระดาษขนาด A4 ประมาณ 40 แผ่นเป็นวัตถุดิบ



วิธีการก็คือ นำกระดาษที่ผ่านเครื่องทำลายเอกสารแล้ว มาใส่ลงในเครื่องรีไซเคิล “White Goat” หรือจะนำกระดาษมาผ่านเครื่องทำลายเอกสารที่ติดตั้งอยู่ภายใน “White Goat” ก็ได้

หลังจากนั้นก็รอเพียง 30 นาที ระหว่างนี้เศษกระดาษที่อยู่ในเครื่องจะถูกแช่น้ำ และผ่านกระบวนการต่างๆ จนกลายเป็นเยื่อกระดาษ (สิ่งแปลกปลอมต่างๆ จะถูกคัดแยกออกในขั้นตอนนี้) จาก นั้นเยื่อกระดาษที่ได้จะถูกรีดให้แบนแล้วอบแห้ง ก่อนที่จะถูกนำไปม้วนลงบนแกน แล้วส่งออกมาทางช่องบริเวณด้านล่างของตัวเครื่อง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทั้งสิ้น



เครื่องดังกล่าวมีความสูง 1.8 เมตร น้ำหนัก 600 ก.ก. ซึ่งทางบริษัท โอเรียนทัล มีแผนที่จะนำออกสู่ท้องตลาดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ด้วยสนนราคาเครื่องละ $100,000 หรือกว่า 3.3 ล้านบาท

เจ้าหน้าที่ของบริษัท โอเรียนทัล ระบุว่าเครื่อง “White Goat” จะช่วยลดการตัดต้นไม้ได้มากถึง 60 ต้นต่อปี โดยมีค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลกระดาษสำนักงานให้กลายเป็นกระดาษชำระประมาณ 10 เยน (3.7 บาท) ต่อ 1 ม้วน

คลิบการทำงานของเครื่อง

คลิป มาดูการรีไซเคิลกระดาษกันครับ

รักษาต้นไม้ ด้วยกระดาษรีไซเคิล

รักษาต้นไม้ ด้วยกระดาษรีไซเคิล



หากถามว่าใครเคยตัดไม้ทำลายป่าบ้าง คงส่ายหน้ากันจนหัวสั่นหัวคลอน แต่ถ้าเปลี่ยนมาถามว่าใครเคยใช้กระดาษบ้าง จะมีสักกี่คนที่กล้าปฏิเสธ อย่าลืมนะว่าต้นไม้นั่นแหละคือวัตถุดิบสำหรับการผลิตกระดาษ ดังนั้นทุกครั้งที่ใช้กระดาษ ก็คือการทำลายต้นไม้(โดยไม่ได้ตั้งใจ)นั่นเอง

ทุกวันนี้คนไทยเราใช้กระดาษกันปีละ 3.5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย คนละ 56 กิโลกรัมต่อปี ในเมื่อเรายังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษได้ซะทีเดียว สิ่งที่ช่วยกันได้ก็คือการใช้กระดาษเท่าที่จำเป็น หรือใช้ให้คุ้มค่าที่สุด และลองเปลี่ยนมา ใช้กระดาษรีไซเคิลกันให้มากขึ้น

ในบ้านเราอาจจะยังไม่คุ้นเคยกันเท่าไหร่นัก วันนี้เลยมีกระดาษถ่ายเอกสารรีไซเคิลมาแนะนำ กระดาษถ่ายเอกสารรีไซเคิล ไอ.เจ(IJ) ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล สีขาวนวล จึงช่วย ถนอมสายตา อาจจะบางกว่ากระดาษที่เคยคุ้นมือกันนิดหน่อย เนื่องจาก หนา 64 แกรม เท่านั้น แต่ก็ทำให้ ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บมากขึ้น 20% ใช้ได้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทเครื่องโทรสาร และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท เหมือนกระดาษปกติทั่วไป

จากข้อมูลของ GrassRoots Recycling Network ในปี 2000 ระบุว่า กระบวนการรีไซเคิลนั้นสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่ากระบวนการผลิตใหม่ถึง 4-5 เท่า โดย กระดาษรีไซเคิล 1 ตัน สามารถรักษาชีวิตต้นไม้ไว้ได้ 24 ต้น ลดการใช้น้ำได้ 50% และลดการใช้พลังงานซึ่งพอเพียงต่อการเปิดไฟในบ้านให้ส่องสว่างได้นานถึง 6 เดือนเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม การรีไซเคิลกระดาษนี้ทำได้มากสุด 4-6 ครั้ง เท่านั้น เนื่องจากทุกครั้งที่ผ่านการรีไซเคิลเยื่อกระดาษจะสั้นลงเรื่อย ๆ ทำให้คุณภาพลดลง และต้องเติมเยื่อกระดาษใหม่ลงไปด้วย ดังนั้นการลดปริมาณการใช้กระดาษก็ยังเป็นสิ่งที่เราควรร่วมด้วยช่วยกัน และที่สำคัญเมื่อใช้กระดาษจนคุ้มค่าสุด ๆ แล้วเนี่ย อย่าลืม แยกขยะกระดาษออกจากขยะอื่น ๆ เพื่อง่ายต่อการนำกลับมารีไซเคิลต่อไปด้วยนะ

เราหันมาใช้กระดาษรีไซเคิลกันเถอะ

เราหันมาใช้กระดาษรีไซเคิลกันเถอะ

ปริมาณความต้องการบริโภคเยื่อกระดาษภายในประเทศและตลาดต่างประเทศขยายตัวสูงขึ้น ในช่วงปี 2547 ต่อเนื่องไป แต่อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษกลับต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและมีราคาสูงโดยเฉพาะไม้ยูคาลิปตัสซึ่งถือเป็นวัตถุดิบที่มีการใช้ผลิตเยื่อกระดาษมากที่สุดเมื่อเทียบกับวัตถุดิบผลิตเยื่อกระดาษประเภทอื่นๆ อาทิ ปอแก้ว ชานอ้อย ไผ่ ซึ่งในอนาคตปัญหาการขาดแคลนไม้ยูคาลิปตัสในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการขยายตัวในธุรกิจสิ่งพิมพ์ การขยายการศึกษาภาคบังคับ และการเพิ่มขึ้นของการบริโภคส่วนบุคคล ส่งผลให้ความต้องการใช้กระดาษเพิ่มขึ้น ทำให้มีการผลิตกระดาษเพิ่มมากขึ้นตาม คนไทยใช้กระดาษเฉลี่ย 34 กก./คน/ปี การบริโภคกระดาษเพิ่มขึ้น เช่น กระดาษจากสำนักงาน กระดาษคอมพิวเตอร์ กระดาษอัดสำเนา ซองจดหมาย กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น กระดาษเหล่านี้ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก

ปริมาณขยะกระดาษที่ใช้แล้วในประเทศสามารถผลิตเยื่อเป็นกระดาษใหม่ได้ประมาณ 70,149 กก./ปี แต่มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 30 ที่ได้มีการนำกลับมาทำเป็นเยื่อใหม่และทำผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง

ต้นทุนวัตถุดิบเยื่อกระดาษ พลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มสูงขึ้น และวัตถุดิบเยื่อกระดาษเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อมลภาวะ และการทำลายป่า ในการผลิตกระดาษจากเยื่อบริสุทธิ์ 1 ตัน ต้องใช้ไม้ยูคาลิปตัสอายุ 5 ปี จำนวน 17 ต้น ใช้กระแสไฟฟ้า 4,100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้น้ำ 31,500 ลิตรและปล่อยคลอรีนเป็นของเสียสู่สิ่งแวดล้อมประมาณ 7 กิโลกรัม

แต่ถ้าใช้เศษกระดาษรรีไซเคิล ก็จะลดขั้นตอนและพลังงานในการผลิตลง โดยการผลิตกระดาษ 1 ตัน จากเศษกระดาษ จะลดการตัดต้นไม้ 17 ต้น ลดการใช้กระแสไฟฟ้า 1,000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ลดการใช้น้ำมันเตา 300 ลิตร ลดการใช้น้ำ 20 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังลดการใช้สารคลอรีนฟอกเยื่อกระดาษ 5 กิโลกรัม ลดการนำเข้ากระดาษจากต่างประเทศ 25,000 บาท ลดขยะกระดาษ 1 ตัน ลดค่ากำจัดขยะ 1,000 บาท และเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในการนำกระดาษมารีไซเคิล 12,000 บาท

ดังนั้นการใช้เยื่อกระดาษให้คุ้มค่า โดยการนำเศษกระดาษมารีไซเคิลใหม่ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษกระดาษที่ใช้แล้ว วิธีการคือนำเยื่อกระดาษที่ใช้แล้วมาผสมเยื่อใยยาว เช่น เยื่อสา เยื่อสับปะรด เยื่อกล้วย เป็นต้น เพื่อนำไปผลิตกระดาษด้วยมือ และทำเป็นผลิตภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ในการลดต้นทุนการผลิต รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับประเทศได้



ภาพกระดาษที่ยังไม่ได้แยกหมึก



ภาพกระดาษที่ผ่านการแยกหมึกและทำแผ่นกระดาษแบบพื้นบ้าน

การทำกระดาษรีไซเคิล


วัสดุอุปกรณ์

- กระดาษหนังสือพิมพ์เก่าๆ
- ตะแกงลวดถี่ๆหาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้ หรือร้านขายฮาร์ดแวร์
- ผ้าที่ดูดซับน้ำได้ดี
- ถังน้ำหรือชามอ่าง 2 ใบ
- ช้อนไม้ หรือเครื่องปั่นน้ำผลไม้
- ถุงพลาสติก
- ของหนักๆเช่น หนังสือหนักๆหลายเล่ม

วิธีทำ
1. แช่หนังสือพิมพ์เก่าค้างคืนไว้ เทน้ำทิ้งในวันรุ่งขึ้น ทำกระดาษให้ยุ่ยจนเป็นเยื่อกระดาษเล็กๆ เทน้ำผสมลงไป (อย่าลืมทำความสะอาดเครื่องปั่น) หลังจากนั้นถ้าต้องการกระดาษสีให้ผสมสีฝุ่นที่ต้องการลงไปด้วย

2. ใส่เยื่อกระดาษลงในถังน้ำ หรือชามอ่างอีกใบหนึ่ง เติมน้ำลงไปจำนวนเท่าๆกัน กวนผสมเข้าด้วยกัน ใช้ตะแกรงช้อนกระดาษ พยายามให้เยื่อกระดาษทั้งหมดกระจายบนตะแกรงอย่างสม่ำเสมอ

3. วางผ้าที่ซับน้ำได้ดีบนพื้นที่เรียบ สะอาด คว่ำตะแกรงด้านที่มีเยื่อกระดาษลงบนผ้านั้นอย่างรวดเร็วและระมัดระวัง กดลงอย่าแรงแล้วลอกตะแกรงขึ้นมา ปล่อยให้เยื่อกระดาษอยู่บนผ้านั้น วางผ้าอีกผืนหนึ่งทับข้างบน แล้วกดให้แน่น

4. ทำซ้ำเช่นเดียวกันนี้จนเยื่อกระดาษที่เหลือหมด เมื่อเสร็จแล้วใช้ถุงพลาสติกวางทับด้านบนสุด แล้ววางของหนักๆทับอีกที

5. ปล่อยทิ้งไวรอจนเยื่อกระดาษกลายเป็นแผ่นแล้วค่อยๆลอกแผ่นกระดาษออก
จากผ้า้้ วางกระดาษเหล่านี้ไว้บนกระดาษหนังสือพิมพ์ จนกระทั่งแห้งสนิทจึงนำกระดาษไปใช้ได้



ที่มา: หนังสือแปล นิเวศวิทยา โดย พรพรรณ ไวทยางกู